1. หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่างๆ เคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
1. หลักฐานจากรอยต่อของทวีป นายเชอร์ บูลลาร์ค นักธรณีฟิสิกซ์ชาวอังกฤษ ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถนำทวีปต่างๆมาเชื่อมต่อกันได้
2. หลักฐานจากการคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา พบที่ทวีปอเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แอฟริกา ออสเตเรีย และอินเดีย เกิดในสภาพแวดล้อมบนบกที่หนาวเย็น และมีการระเบิดของภูเขาไฟเหมือนกัน
3. หลักฐานจากหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารนํ้าแข็ง ปลายยุคมหายุคพลาลีโอโซอิก แผ่นดินที่เคยเป็นส่วนของกอยด์นาวาถูกปกคลุมด้วยแผ่นของนํ้าแข็ง และได้พบหลักฐานที่สนับสนุนว่าทวีปต่างๆเคยต่อเป็นทวีปเดียวกัน
4. หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ เกิดการพบซากดึกดำบรรพ์สี่ประเภทคือ โซซอรัส ลัสโทซอรัส ไซโนกาทัส กลอสโซพเทรีส ในทวีปต่างๆเช่นเดียวกัน
ดั้งนั้นจากหลักฐานทั้งสี่ข้อนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า ทวีปต่างๆเคยเชื่อมต่อกัน แต่ว่าเกิดการประทะ และแรงกดดันจากความร้อนใต้ผิวโลก จึงแยกตัวกัน และแผ่นโลกที่ไม่สามารถที่จะต่อกันสนิท ก็ได้สันนิษฐานว่าชายฝั่งถูกนํ้าทะเลกัดเซาะ จึงทำให้ไม่สามารถที่จะต่อกันได้อย่างสนิท
1. Evidence from the boundaries of the continent, Mr. Cherry's travelers will leave Blue Earth Physics St British. Have shown that the continents can be connected together.
2. Evidence from similar rocks and mountain ranges of South America Antarctica Africa found that Australian Maria was born in India and land environment on the cold. And the explosion of the volcano as well.
3. Evidence from the rocks caused by the deposition of sediment from the ice stream. Eons Plas late Leo Ignacio Associates. Land that was part of a Grand Do not be covered by the commander of the ice sheet. And found evidence to suggest that the continents have the same goals.
4. Evidence from the fossil The four types of fossils found So is Saw Saw Tony Russell Square modulus Sino Ka Tasman Gloss Soap only resort on the continent are the same.
Therefore, this evidence from the four scientists to conclude that Had connected the continents. But the sea of Pra. Heat and pressure from below the earth's surface separated themselves and the world sheet can not be close to each other. Has been assumed that the sea-shore erosion. Thus making it impossible to continue to fully close.
◕‿◕。 ดาราศาสตร์ ไม่ใช่ศาสตร์แห่งตำรา แต่ทว่ามันคือศาสตร์แห่งการค้นคว้าวิทยาการอันก้าวหน้า ของปวงมนุษยชาติ... NASA spots scorching hot Earth-like planet ◕‿◕。
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่างๆ เคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
ป้ายกำกับ:
รอยต่อ,
รอยเลื่อน,
หลักฐานทวีปต่อกัน,
หลักฐานแผ่นดินเดียวกัน
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอับคลื่น S ที่ครอบคลุมผิวโลกบริเวณกว้าง นักเรียนจะอธิบายปรากฏกาณ์นี้อย่างไร
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอับคลื่น S ที่ครอบคลุมผิวโลกบริเวณกว้าง นักเรียนจะอธิบายปรากฏกาณ์นี้อย่างไร จากความรู้ที่ว่าขณะที่เกิดแผ่นดินไหว ทำให้หิน แผ่นดินเกิดการเคลื่อนคัวมาชนกัน เกิดการถ่ายโอนพลังงานให้ซึ่งกันและกัน เกิดคลื่นขยายออกจากจุดเกิดแผ่นดินไหวไปบริเวณโดยรอบ แต่ว่าองค์ประกอบภายในของโลกมีความหนาแน่นที่ไม่เท่ากัน ทำให้คลื่นทั้งสองนั้นเคลื่นที่ได้ไม่เท่ากัน เนื่องจากว่าคลื่น P นั้นสามารถผ่านได้ทุกสถานะ(จากข้อ 2)จึงมึความเร็วมากกว่าทำให้เกิดเขตอับคลื่น s เนื่องจากคลื่น s สามารถผ่านได้เฉพาะของแข็งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะเกิดทำให้เกิดเขตอับคลื่น s เพราะว่าคลื่น s ไม่สามารถที่จะผ่านตัวกลางทีมีสถานะเป็นของเหลวได้นั้นเอง
From the knowledge that when an earthquake rocks the earth movement caused the collision roasted. The transfer of power to each other. Waves extend from the earthquake to the surrounding area. However, the internal elements of the world are not the same density. Both are making waves transmitted to the unequal Since the P waves can pass through each state (from the article. 2) is faster than the cause confined area due to wave s wave s is only through solids only. So when an earthquake will cause waves confined area s because s is not able to wave through a liquid medium that has its own status.
From the knowledge that when an earthquake rocks the earth movement caused the collision roasted. The transfer of power to each other. Waves extend from the earthquake to the surrounding area. However, the internal elements of the world are not the same density. Both are making waves transmitted to the unequal Since the P waves can pass through each state (from the article. 2) is faster than the cause confined area due to wave s wave s is only through solids only. So when an earthquake will cause waves confined area s because s is not able to wave through a liquid medium that has its own status.
คลื่น P และ S มีความแตกต่างกันอย่างไร
จากคำถามคลื่น P และ S มีความแตกต่างกันอย่างไร
คลื่น P สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S
คลื่น S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
Primary waves Can travel through any intermediate state. And faster than the wave S.
Secondary waves Can only move through the solid medium only.
คลื่น P สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ และมีความเร็วมากกว่าคลื่น S
คลื่น S สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น
Primary waves Can travel through any intermediate state. And faster than the wave S.
Secondary waves Can only move through the solid medium only.
คำตอบ หินต้นกำเนิดแมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบนให้นักเรียนบอกประเภท และส่วนประกอบของหินกำเนิดแมกมา
จากคำถาม หินต้นกำเนิดแมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบนให้นักเรียนบอกประเภท และส่วนประกอบของหินกำเนิดแมกมา หินแมกม่านั้นเป็นหินที่ถูกความร้อน และและถูกดันออกปะทะออกมานอกเปลือกโลก ซึ่งหินที่ออกมาเมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นหินภูเขาไฟได้แก่
หินไรโอไลต์ เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์
หินแอนดีไซต์ มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม
หินบะซอลต์ เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่
หินออบซีเดียน เกิดจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง
ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/หินภูเขาไฟ
ภาษาอังกฤษ
หินไรโอไลต์ เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดมาก มีปริมาณซิลิกามากกว่า 66 เปอร์เซ็นต์
หินแอนดีไซต์ มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 52-66 เปอร์เซ็นต์ เกิดในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม
หินบะซอลต์ เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่มีความหนืดน้อย มีปริมาณซิลิกาอยู่ในช่วง 45-52 เปอร์เซ็นต์ มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่
หินออบซีเดียน เกิดจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง
ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/หินภูเขาไฟ
ภาษาอังกฤษ
Questions from the magma source rocks are located mainly at upper mantle level students to describe Components of rocks and magma. Magma stone is a stone that is heat And the pressure is off and strike off the earth. This rock cools off when it became a pumice were.
(Ryolite) caused by cooling of the lava is very viscous. More than 66 percent silica content.
(Andesite) sites silica content in the range of 52-66 percent in the same manner as the Old Stone what Wright. But there are elements of magnesium and iron over Is dark green.
(Basalt) is a fine granite output caused by the cooling of the lava is less viscous. Amount of silica in the range of 45-52 percent due to a dark mineral consisting prime rock scene mainly
(Obsedian) Commons. Caused by magma with high silica to high viscosity.
(Ryolite) caused by cooling of the lava is very viscous. More than 66 percent silica content.
(Andesite) sites silica content in the range of 52-66 percent in the same manner as the Old Stone what Wright. But there are elements of magnesium and iron over Is dark green.
(Basalt) is a fine granite output caused by the cooling of the lava is less viscous. Amount of silica in the range of 45-52 percent due to a dark mineral consisting prime rock scene mainly
(Obsedian) Commons. Caused by magma with high silica to high viscosity.
วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พบดาวเคราะห์เหมือนโลกเราแล้ว แต่ทว่า...
นับแต่ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบเมื่อสองทศวรรษก่อนว่า ดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์เป็นบริวารไม่ได้มีแต่เพียงดวงอาทิตย์เท่านั้น ทำให้ความหวังที่จะพบดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตนอกเหนือจากโลกของเราได้ทอประกายขึ้นอีกครั้ง
แต่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่นักดาราศาสตร์พบมา ซึ่งจนขณะนี้ก็มีกว่า 500 ดวงแล้ว เกือบทั้งหมดมักเป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แบบดาวพฤหัสบดี ซึ่งไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ สิ่งที่นักดาราศาสตร์ต้องการหาก็คือ ดาวเคราะห์ที่คล้ายโลก นั่นคือต้องเป็นดาวเคราะห์หิน ไม่ใช่แก๊ส มีขนาดและมวลไม่ต่างจากโลกมากนัก
ด้วยเหตุนี้ โครงการเคปเลอร์ จึงได้เกิดขึ้น เคปเลอร์เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศของนาซา มีหน้าที่ค้นหาดาวเคราะห์แบบโลกที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์ดวงอื่น กล้องนี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อสองปีก่อนด้วยความหวังว่า จะได้พบดาวเคราะห์หินขนาดเล็ก ๆ แบบโลกบ้าง
และแล้วเคปเลอร์ก็ไม่ทำให้แฟน ๆ ต้องผิดหวัง หลังจากการเก็บข้อมูลนานกว่าแปดเดือน ในที่สุดก็ได้พบดาวเคราะห์ดวงใหม่ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่มีขนาดเล็กมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยพบมา ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า เคปเลอร์-10 บี (Kepler-10b) อยู่ห่างจากโลกไป 560 ปีแสง มีขนาดประมาณ 1.4 เท่าของโลกเท่านั้น ซึ่งถือว่าใกล้เคียงโลกมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเท่าที่เคยพบมา
แต่ที่ไม่ใกล้เคียงเลยคืออัตราการโคจรรอบดาวฤกษ์ เวลาหนึ่งปีของดาวเคราะห์ดวงนี้ยาวนานเพียง 0.84 วันของโลกเท่านั้นเอง นั่นเพราะดาวดวงนี้มีรัศมีวงโคจรเล็กมาก เล็กกว่ารัศมีวงโคจรของดาวพุธถึง 23 เท่า และด้วยเหตุที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากนี่เอง จึงทำให้มันร้อนมาก อุณหภูมิด้านกลางวันสูงถึง 1,370 องศาเซลเซียส ร้อนพอที่จะหลอมเหล็กได้ แน่นอนว่าไม่ต้องไปถามว่ามีสิ่งมีชีวิตหรือไม่
แม้การค้นพบครั้งนี้ จะไม่ได้ให้ความหวังอะไรเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญยิ่ง เพราะได้แสดงถึงศักยภาพอันโดดเด่นของเคปเลอร์ในการค้นหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงโลกมากแบบนี้ได้
วิธีการหาดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ใช้หลักการที่เรียกว่า การผ่านหน้า เมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ จะบดบังแสงจำนวนส่วนหนึ่งไป ซึ่งตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่มีความไวแสงสูงมาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงจะบอกได้ว่าวัตถุที่มาบังนั้นมีคาบโคจรเท่าใด รวมถึงขนาดและมวลด้วย
เคปเลอร์มีอาวุธเด็ดคือกล้องที่มีเซนเซอร์ซีซีดี 95 เมกะพิกเซล ซึ่งเป็นกล้องที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขึ้นสู่อวกาศ
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบหลักฐานว่าระบบสุริยะของ เคปเลอร์-10 นี้อาจมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งร่วมอยู่ด้วย สมมุติฐานนี้มาจากการพบเหตุการณ์ที่คล้ายกับมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ทุก 45 วัน ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าโลกสองเท่าเศษ แต่หลักฐานส่วนนี้ยังไม่หนักแน่นเท่าดวงแรก
ใครว่า คนเราอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดวงอาทิตย์ ไม่จริง!!!
สิ่งมีชีวิตบนโลก และกลไกลทางชีววิทยาทั้งมวลบนโลก ล้วนขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์จึงเปรียบเสมือนมารดาของสรรพชีวิตบนโลก หากจะมีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งในระบบสุริยะอื่นจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง ก็จะต้องอยู่ในเงื่อนไขเดียวกับโลก นั่นคือจะต้องรับพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ตนเป็นบริวารอยู่
แต่การศึกษาใหม่โดยนักเอกภพวิทยาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลกก็อาจมีอุณหภูมิสูงพอจะเอื้ออาศัยได้โดยไม่ต้องมีดาวฤกษ์ โดยมีแหล่งความร้อนจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์เอง และมีชั้นน้ำแข็งห่อหุ้มเป็นฉนวน
ต้นกำเนิดของงานวิจัยนี้มาจากความขี้สงสัยของนักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคนหนึ่งที่เกิดสงสัยว่า โลกจะเป็นอย่างไรหากไม่มีดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้กระตุ้นให้สหาย เอริก สวิตเซอร์ ซึ่งเป็นนักเอกภพวิทยา เริ่มงานวิจัยเพื่อไขปัญหานี้
ผลการคำนวณของสวิตเซอร์เผยว่า หากไม่มีพลังงานจากดาวฤกษ์แล้ว ดาวเคราะห์แบบโลกจะต้องมีแผ่นน้ำแข็งหนา 15 กิโลเมตรปกคลุมอยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่เกิดจากการสลายของธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์ เช่น โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-238 และ ทอเรียม-232 รวมถึงพลังงานดั้งเดิมที่ตกค้างมาจากการสร้างดาวเคราะห์ด้วย
หรือหากน้ำแข็งหนาไม่ถึง 15 กิโลเมตร ก็ยังปกป้องความร้อนจากภายในได้ หากมีชั้นบรรยากาศเยือกแข็งเช่นน้ำแข็งแห้ง ซึ่งก็คือคาร์บอนไดออกไซค์เยือกแข็ง ปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง
ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเช่นนี้ จะอุ่นพอที่จะให้มีสิ่งมีชีวิตวิวัฒน์และดำรงอยู่ได้
"โลกเราก็อาจมีลักษณะแบบนั้นได้หลังจากที่ดวงอาทิตย์ดับไปแล้วประมาณ 10,000 ล้านปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นน้ำในมหาสมุทรจะเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด" โดเรียน แอบบอต นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าว
สวิตเซอร์ไม่ได้คาดไปถึงว่า สิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์ที่ไม่มีดาวฤกษ์จะมีลักษณะเช่นใด แต่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งปกคลุมอาจให้แนวคำตอบนี้ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปาและคัลลิสโตของดาวพฤหัสบดีและเอนเซลาดัสของดาวเสาร์มีชั้นของมหาสมุทรใต้พิภพที่เป็นของเหลวอยู่ มีแหล่งพลังงาน มีน้ำ และมีสภาพเคมีอย่างที่ชีวิตต้องการ
ความคิดว่าอาจมีดาวเคราะห์บางดวงที่พเนจรอย่างอิสระไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ไม่ใช่ความคิดที่เพ้อเจ้อเสียทีเดียว นักดาราศาสตร์ได้คำนวณว่าการรบกวนกันเองระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ หรือการรบกวนจากดาวฤกษ์ที่ผ่านเข้ามาใกล้ อาจทำเกิดแรงเหวี่ยงให้ดาวเคราะห์หลุดกระเด็นออกจากระบบสุริยะได้
จากแบบจำลองการกำเนิดระบบดาวเคราะห์แสดงว่ามีโอกาสเกิดดาวเคราะห์ประเภทนี้อยู่มากมาย โดยเฉลี่ยแล้วอาจมี 1-2 ดวงต่อระบบสุริยะ
แม้แต่ระบบสุริยะของเราเอง ก็อาจเคยเกิดเหตุการณ์นี้มาก่อน โลกเราอาจเคยมีดาวเคราะห์พี่น้องร่วมครอบครัวที่ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ได้หลุดออกจากระบบไปนานแล้ว เพียงแต่ทฤษฎีนี้ยังขาดหลักฐานยืนยันเท่านั้นเอง
ที่มา:
•Orphan Planets Could Support Life - Discovery News
วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554
คำถามท้ายบทที่ ๔ ธรณีประวัติ
๑. นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่
๒. เพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มหินอัคนี และหินแปร
๓. ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง
๔. ซากดึกดำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ
๕. การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก
๖. ถ้านักเรียรสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของประการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของภูเขานั้นอย่างไร จงอธิบาย
1. นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่
ตอบ เพราะมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในชั้นของหิน เช่น ในประเทศไทยมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและหางยาว ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัสสิรินทรเน พบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
2. เพราะเหตุใดเราจึงไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มหินอัคนี และหินแปร
ตอบ เพราะ หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของแมกมา ซึ่งได้จากการระเบิดของภูเขาไฟ จึงไม่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ได้
หินแปร เกิดจากการแปรสภาพจากหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปรด้วยกันเอง ภายใต้อุณหภูมิ ความดันและสิ่งแวดล้อมทางแร่ ซึ่งหินที่ถูกทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างทันทีทันใดแล้วอุณหภูมิค่อยๆ ลดลง การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมินี้มีผลทำให้หินแตกหักได้ จึ่งไม่สามารถพบซากดึกดำบรรพ์ในหินแปร
3. ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง
ตอบ ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกให้ทราบถึงอายุของหิน และสภาวะแวดล้อมในอดีต และทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของชั้นหินในบริเวณต่างๆ ได้
4. ซากดึกดำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ
ตอบ ซากดึกดำบรรพ์ที่ดี และบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจน ได้แก่ ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้าง และรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไตรโลไบท์ แกรพโตไลท์ ฟิวซิลินิด เป็นต้น การพบซากดึกดำบรรพ์ไตรโลไบท์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 - 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซิลินิดในหินปูนที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 - 245 ล้านปี เป็นต้น
5. การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก
ตอบ การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญในการศึกษาความเป็นมาของโลก คือ อาศัยอายุเทียบสัมพัทธ์ (relative age) เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกได้ว่า หินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ ลักษณะการลำดับชั้นของหินชนิดต่างๆ และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน แล้วนำมาเทียบสัมพัทธ์กับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) ก็จะสามารถบอกอายุของหินว่า เป็นหินยุคไหนหรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด
การลำดับชั้นหินเป็นการรวบรวมข้อมูลทางธรณีวิทยาเกือบทุกทางมาใช้ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของพื้นที่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งทำให้ทราบถึงความเป็นมาของโลก
6. ถ้านักเรียนสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของภูเขานั้นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง แสดงว่า ในอดีตบริเวณนี้เป็นทะเลน้ำตื้นในช่วงแรกแล้วแผ่ไปสู่ทะเลลึก และเปลี่ยนเป็นทะเลตื้นใกล้ชายฝั่งอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่มีการสะสมตะกอนจากทะเล มีการแข็งตัวของตะกอน ทำให้บริเวณนี้ตื้นขึ้น ต่อจากนั้นเปลือกโลกบริเวณนี้มีการเคลื่อนที่ และมีการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้พื้นที่นี้มีการยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขาในปัจจุบัน
คำถามท้ายบทที่ ๓ ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา
๑. อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" กับ "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว"
๒. แนวที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของผิวโลก ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดหรือไม่ อยู่บริเวณใด
๓. แมกม่าที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของหินใต้ผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
๔. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
๕. ท่านคิดอย้างไรกับคำกล่าวที่ว่า "ภูเขาไฟเปรียบเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในของโลกได้"
๖. บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
๗. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ภูเขาไฟมีพลัง และคาบอุบัติช้า
1. อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ “ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” กับ “จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว”
ตอบ “ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” หมายถึง ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดิน หรือตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหว
“จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว” หมายถึง ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว
2. แนวที่เกิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของพื้นผิวโลก ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ อยู่บริเวณใด และมีขนาดมากน้อยเพียงใด
ตอบ แนวที่เกิดแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคพื้นผิวโลก
ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดจากมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นอกประเทศ แล้วส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว บริเวณทะเลอันดามันและตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในแนวนี้ จะทำให้พื้นที่ในประเทศไทยบริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ เกิดการสั่นไหวที่รู้สึกได้
3. แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตกแยกของหินใต้พื้นผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
ตอบ แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตกแยกของหินใต้พื้นผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินบะซอลต์ที่มีแร่แทรกปะปนอยู่ หินบะซอลต์จัดเป็นหินอัคนี
4. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
ตอบ สาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
1. เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่แตกหักหรือเลื่อนตัวและถ่ายโอนพลังงานศักย์อย่างรวดเร็วให้กับชั้นหินที่อยู่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน
2. เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ เนื่องจากในขณะที่แมกมาใต้ผิวโลกเคลื่อนตัวตามเส้นทางสู่ปล่องภูเขาไฟ สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นลาวา
3. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน การระเบิดพื้นที่เพื่อสำรวจลักษณะของหิน สำหรับวางแผนก่อสร้างอาคาร และเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น
5. ท่านคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า “ภูเขาไฟเป็นเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในของโลก”
ตอบ เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง เพราะ เมื่อภูเขาไฟระเบิดแต่ละครั้ง จะมีเศษลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง และเถ้าถ่าน ลาวาที่ออกมาสู่พื้นผิวโลก จะมีอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ทำให้ทราบว่า ภายในโลกมีความร้อนมาก นอกจากนี้ภายในของโลกยังมีแร่ธาตุต่างๆ อยู่ เมื่อสังเกตจากหินบะซอลต์ หินแอนดีไซต์ หินไรโอไลต์ และหินออปซิเดียน เป็นต้น
6. บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
ตอบ การเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนี้
ประโยชน์ของแผ่นดินไหว คือ ทำให้ทราบถึงส่วนประกอบและโครงสร้างของโลก และเกิดที่ราบสูงภูเขาขึ้นใหม่
โทษของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
ความเสียหายทางตรง เช่น ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม เกิดการยกตัวหรือทรุดตัวลงของแผ่นดิน เกิดรอยแตกแยกในแผ่นดินและการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน เกิดไฟไหม้อาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ พังทลาย มนุษย์บาดเจ็บและตายเป็นจำนวนมาก
ความเสียหายทางอ้อม จะปรากฏเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเล กล่าวคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในท้องทะเล จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ที่เรียกว่า สึนามิ (Tsunami) คลื่นดังกล่าวนี้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ในระยะไกลมาก และเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งจะทำให้ระดับน้ำสูงจากปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันตามบริเวณชายฝั่ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก
ภูเขาไฟระเบิดก่อให้เกิดประโยชน์และโทษ คือ
ประโยชน์ของภูเขาไฟ
1. ช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในสมดุล
2. ช่วยให้หินที่ถูกแปรสภาพมีความแข็งมากขึ้น
3. เกิดแร่ที่สำคัญขึ้น เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ทับทิม ไพลิน และพลอยอื่นๆ ที่สวยงาม จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีชื่อเสียงของประเทศ
4. เป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดผู้คนให้ไปเยี่ยมชม
5. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟมักจะเป็นดินดี เหมาะแก่การเพาะปลูก
โทษของภูเขาไฟ
ทำลายชีวิต อาคารบ้านเรือน และทรัพย์สินทั้งทางตรงและอ้อม
7. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ ภูเขาไฟมีพลัง คาบอุบัติซ้ำ
ตอบ ภูเขาไฟมีพลัง หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่และอาจจะระเบิดอีก
คาบอุบัติซ้ำ หมายถึง ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่นั้น แล้ว กลับมาเกิดซ้ำในที่เดิมอีก อาจเป็นร้อยปีหรือพันปี หรือน้อยกว่า นั้น
คำถามท้ายบทที่ ๒ โลกและการเปลี่ยนแปลง
๑. หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่างๆ เคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
๒. นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของทวีปอย่างไร ให้อธิบายและยกตัวอย่างหลักฐานหรือข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุน
๓. เพราะเหตุใดปรากฎการณ์ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว มักเกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นธรณี
๔. รอยคดโค้ง รอยแตก รอยเลื่อนในหิน มีลักษณะเหมือนกันหริอไม่ และเกิดขึ้นได้อย่างไร
๕. จากแนวการเคลื่อนที่ ของแผ่นธรณีต่างๆ จะมีผลต่อภูมิประเทศของโลกอย่างไรในอนาคต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)